จงอย่าลืม!!!!

อย่าลืม..ดินที่เคยหย่าง

ผญาเด็ดๆ อ่านด้วย!!

คันเจ้าได้อยู่ยอดฟ้าผาสาทประดับมุข อย่าได่ลืมเฮีอมทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า คันว่าได่ดีแล้ว อย่าลืมคุณพ่อแม่เผิ่นหา เลี้ยงแต่น้อยถนอมให้ใหญ่สูง

วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ประเพณีแห่เทียนพรรษาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี



     

      ต้นเทียนและการแห่เทียนพรรษาของเมืองอุบลฯ มีมานานนับร้อยปี จึงมีวิวัฒนาการมากมายหลายแบบหลายมิติดังที่กล่าวมา จากการแห่เทียนธรรมดาที่เรียบง่ายเป็นการแห่เทียนที่มีการร้องรำทำเพลงและการแสดงต่างๆ มากมาย จากการรวมกลุ่มร่วมมือร่วมแรงของชาวบ้านคุ้มต่างๆ ในราคาถูกเป็นการจัดทำของกลุ่มชาวบ้านกลุ่มพ่อค้าและข้าราชการต่างๆ ที่มีราคาแพง จากการแบกหามบรรทุกใส่เกวียนเป็นการบรรทุกใส่รถ จากรถคันเล็กเป็นรถคันใหญ่ จากรถคันใหญ่เป็นรถหลายคัน จากรถคันสั้นเป็นรถคันยาว จากรางวัลเพียงไม่กี่บาทก็เป็นรางวัลหลายแสนบาท จากการดำเนินงานตามลำพังของจังหวัดอุบลฯ ก็เป็นการดำเนินงานร่วมกันกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จากที่ไม่มีนักท่องเที่ยวก็มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ วิวัฒนาการมากมายหลายแบบหลายมิติเช่นนี้ ด้วยเพราะความอยากให้ต้นเทียนมีความแปลกแตกต่าง มีความสวยงาม มีความยิ่งใหญ่และชัยชนะ

       ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งจากภาคราชการ เอกชน และชาวบ้านคุ้มต่างๆ ในวันนี้ เทียนและการแห่เทียนพรรษาของเมืองอุบลฯ จึงนำมาซึ่งเกียรติยศ ชื่อเสียง ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรม ด้วยเหตุนี้เมืองอุบลฯ จึงเป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วไปทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจของชาวอุบลฯ ยิ่งนัก

หมายเหตุ
      เทียนและการแห่เทียนพรรษาของเมืองอุบลฯ ถึงแม้จะมีความยิ่งใหญ่ สวยงาม วิจิตร ตระการตา ทั้งขบวนแห่และต้นเทียน และมีกิจกรรมประกอบงานมากมาย สิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็เริ่มจะซ้ำและจำเจในความรู้สึกของคนอุบลฯแล้ว ด้วยเหตุดังที่กล่าวมาคนอุบลฯก็จะคิดหาวิธีการที่แปลกแตกต่างออกไปเพื่อให้ได้สิ่งใหม่ๆ แปลกๆ ตามมา หนึ่งในความแปลก แตกต่าง ที่ได้ยินได้ฟังมานั้น คือ การแห่เทียนทางน้ำ ทั้งนี้เพราะอุบลฯ มีแม่น้ำมูลเป็นแม่น้ำสายสำคัญและไหลผ่านตัวเมืองด้วย การแห่เทียนทางน้ำจะทำให้มีกิจกรรมและวิธีการต่างๆ มากมาย ทั้งทางขวนแห่และการจัดทำต้นเทียน อีกทั้งจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำอีกด้วย (มีผู้เสนอให้แห่ทางน้ำหนึ่งวัน ทางบกหนึ่งวัน เริ่มขบวนแห่ที่หาดคูเดื่อสิ้นสุดที่หาดวัดใต้ ให้มีเรือแพ เรือพาย เรือแข่ง และเรืออื่นๆ เป็นเรือประกอบ มีเรือต้นเทียนเป็นเรือหลัก เรือต้นเทียนจะเป็นเรือสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก ในน้ำเป็นเรือพอขึ้นบกวิ่งเป็นรถเข้าขบวนแห่ทางบกได้เลย มีการประกวดทั้งบนบกและในน้ำ เสร็จแล้วนำไปถวายวัดที่อยู่ฝั่งน้ำ เช่น วัดสุปัฎนาราม วัดหลวง วัดใต้ เป็นต้น)

คัดลอกจาก http://www.ubonguide.org/book14/formcover14_1.html




 












เทศน์แหล่อีสานงานบุญข้าวสาก

การเทศน์แหล่ .....ฟังเทศน์แหล่น้ำตาไหล



แหล่ หมายถึงการเทศน์ที่ใช้เสียงและทำนองที่มุ่งความไพเราะเป็นสำคัญ เช่นเทศน์มหาชาติ เรียกว่า เทศน์แหล่ มีทั้ง แหล่ใน คือเทศน์ตามคัมภีร์เทศน์มหาชาติ และ แหล่นอก คือเทศน์เรื่องนอกคัมภีร์มหาชาติ


แหล่ อีกความหมายหนึ่งหมายถึงตอนหนึ่งหรือบทหนึ่งของแต่ละกัณฑ์ในเทศน์มหาชาติ เมื่อเทศน์ไปได้ตอนหนึ่งก็เรียกได้ว่าแหล่หนึ่ง สองตอนก็สองแหล่ จบแต่ละตอนก็เรียกว่าจบแหล่


แหล่ เป็นคำกร่อนมาจากคำว่า "นั่นแล" เพราะในการเทศน์มหาชาติทุกกัณฑ์ เมื่อจบตอนหนึ่งแล้วท่านจะลงท้ายด้วยคำว่า "นั่นแล" ทุกตอนไป เมื่อลากเสียงคำว่าแล ยาวออกไปจึงกลายเป็น แหล่ ไป










ประเพณีเดือนสิบสอง

                            

                                   เดือนสิบสอง บุญกฐิน



เดือนสิบสอง ฮีตคลองประเพณีอีสานบ้านเฮาอีกอย่างหนึ่งที่ทำสืบต่อกันมาคือ “บุญกฐิน” ครับพี่น้อง การทอดกฐินเป็นกาลทาน ตามพระวินัยกำหนดกาลไว้ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ใคร่จะทอดกฐิน ก็ให้ทอดได้ในระหว่างระยะเวลานี้ จะทอดก่อนหรือทอดหลังกำหนดนี้ ก็ไม่เป็นการทอดกฐิน แต่มีข้อยกเว้นพิเศษว่า ถ้าทายกผู้จะทอดกฐินนั้น มีกิจจำเป็น เช่นจะต้องไปในทัพ ไม่สามารถจะอยู่ทอดกฐินตามกำหนดนั้นได้ จะทอดกฐินก่อนกำหนดดังกล่าวแล้วพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงอนุญาตให้ภิกษะรับไว้ก่อนได้

การทอดกฐิน คือ การนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างต่ำห้ารูป แล้วให้พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ได้รับมอบหมาย จากคณะสงฆ์ทั้งนั้นเป็นเอกฉันท์ให้เป็นผู้รับกฐินนั้น

ผ้ากฐิน โดยความหมายก็คือผ้าสำเร็จรูปโดยอาศัยไม้สะดึง นิยมเรียกกันจนปัจจุบันนี้





ภาพบุญกฐิน สมัยเก่า


การทอดกฐิน เป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง นิยมทำกันตั้งแต่วันแรมค่ำเดือนสิบเอ็ด ไปจนถึงกลางเดือนสิบสอง

คำว่า กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อน แล้วจึงเย็บเพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมื่อนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอ เหมือนจักรเย็บผ้าในปัจจุบัน การทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน ถ้าภิกษุทำเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริกทีเดียว เช่นตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ แม้สมเด็จพระบรมศาสดาก็เสด็จลงมาช่วย ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้น มาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน โดยนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา ก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้หลายองค์ (ไม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสำเร็จรูปแล้ว)





ความหมายของ บุญกฐิน


ความหมายของกฐิน

กฐิน เป็นศัพท์บาลี แปลตามศัพท์ว่าไม้สะดึง คือ “กรอบไม้” หรือ “ไม้แบบ” สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรในสมัยโบราณ ซึ่งผ้าที่เย็บสำเร็จจากกฐินหรือไม้สะดึงแบบนี้เรียกว่า ผ้ากฐิน (ผ้าเย็บจากไม้แบบ)

กฐิน อาจจำแนกตามความหมายเพื่อความเข้าใจง่ายได้ดังนี้

กฐิน เป็นชื่อของกรอบไม้แม่แบบ (สะดึง) สำหรับทำจีวร ดังกล่าวข้างต้น

กฐิน เป็นชื่อของผ้าที่ถวายแก่พระสงฆ์เพื่อกรานกฐิน (โดยได้มาจากการใช้ไม้แม่แบบขึงเย็บ)

กฐิน เป็นชื่อของงานบุญประเพณีถวายผ้าไตรจีวรแก่พระสงฆืเพื่อกรานกฐิน

กฐิน เป็นชื่อของสังฆกรรมการกรานกฐินของพระสงฆ์

ความสำคัญพิเศษแตกต่างจากทานอย่างอื่น

การถวายกฐินนั้นมีข้อจำกัดหลายอย่าง ซึ่งทำให้การถวายกฐินมีความความพิเศษแตกต่างจากทานอย่างอื่นดังนี้

จำกัดประเภททาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น จะถวายเฉพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้

จำกัดเวลา คือกฐินเป็นกาลทานอย่างหนึ่ง (ตามพระบรมพุทธานุญาต) ดังนั้นจึงจำกัดเวลาว่าต้องถวายภายในระยะเวลา 1 เดือน นับแต่วันออกพรรษา เป็นต้นไป

จำกัดงาน คือ พระภิกษุที่กรานกฐินต้องตัด เย็บ ย้อม และครองให้เสร็จภายในวันที่กรานกฐิน

จำกัดไทยธรรม คือ ผ้าที่ถวายต้องถูกต้องตามลักษณะที่พระวินัยกำหนดไว้

จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุผู้รับกฐิน ต้องเป็นผู้ที่จำพรรษาในวัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษา และจำนวนไม่น้อยกว่า 5 รูป

จำกัดคราว คือ วัด ๆ หนึ่งรับกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น

เป็นพระบรมพุทธานุญาต ทานอย่างอื่นทายกทูลขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาต เช่น มหาอุบาสิกาวิสาขาทูลขออนุญาตผ้าอาบน้ำฝน แต่ผ้ากฐินนี้พระองค์ทรงอนุญาตเองนับเป็นพระประสงค์โดยตรง


ความเป็นมาของกฐิน

ภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐ 30 รูป ได้เดินทางเพื่อมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี แต่ยังไม่ทันถึงเมืองสาวัตถี ก็ถึงวันเข้าพรรษาเสียก่อน พระสงฆ์ทั้ง 30 รูป จึงต้องจำพรรษา ณ เมืองสาเกตุในระหว่างทาง พอออกพรรษาแล้ว ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ออกเดินทางมาเข้าเฝ้าพระศาสดาด้วยความยากลำบากเพราะฝนยังตกชุกอยู่ เมื่อเดินทางถึงวัดพระเชตวัน พระพทธเจ้าได้ตรัสถามถึงความเป็นอยู่และการเดินทาง เมื่อทราบความลำบากนั้นจึงทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาสสามารถรับผ้ากฐินได้ และภิกษุผู้ได้กรานกฐินได้อานิสงส์ 5 ประการ ภายในเวลาอานิสงส์กฐิน (นับจากวันที่รับกฐินจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4) คือ

ไปไหนไม่ต้องบอกลา

ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับสามผืน

ฉันคณโภชนะได้ (รับนิมนต์ที่เขานิมนต์โดยออกชื่อโภชนะฉันได้)

เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้โดยที่ยังมิได้วิกัปป์ และอธิษฐาน โดยไม่ต้องอาบัติ

จีวรลาภอันเกิดขึ้น จักได้แก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว

ประเพณีเดือนสิบเอ็ด


เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา



วันออกพรรษา หรือ วันปวารณาออกพรรษา เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาวันหนึ่งในประเทศไทยวันออกพรรษา



คือ วันที่สิ้นสุดระยะการจำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน (นับตั้งแต่วันเข้าพรรษา) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันมหาปวารณา” คำว่า “ปวารณา” แปลว่า “อนุญาต” หรือ “ยอมให้” ใน วันออกพรรษา นี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ เรียกว่า มหาปวารณา เป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันได้ เพราะในระหว่างเข้าพรรษา พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข การให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนได้ ทำให้ได้รู้ข้อบกพร่องของตน และยังเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันด้วยซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) หลังวันเข้าพรรษา 3 เดือน ตามปฏิทินจันทรคติไทย


สำหรับ คำกล่าว ปวารณา มีคำกล่าวเป็นภาษาบาลีเป็นดังนี้ “สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัส์มันโต อะนุกัทปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปฎิกะริสสามิ” มีความหมายว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้วจักประพฤติตัวเสียเลยใหม่ให้ดี


การออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะจัดเป็นญัตติกรรมวาจาสังฆกรรมประเภทหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดยพระวินัยบัญญัติให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอด เมื่อถึง วันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้ และวันถัดจาก วันออกพรรษา 1 วัน (แรม 1 ค่ำ เดือน 11) พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยยังนิยมไปทำบุญตักบาตรครั้งใหญ่ เรียกว่า ตักบาตรเทโว หรือ ตักบาตรเทโวโรหนะ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติที่กล่าวว่า ในวันถัด วันออกพรรษา หนึ่งวัน พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงจากเทวโลกกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในพรรษาที่ 7 เพื่อลงมายังเมืองสังกัสสนคร พร้อมกับทรงแสดงโลกวิวรณปาฏิหาริย์เปิดโลกทั้งสามด้วย


กิจกรรมในวันออกพรรษา


วันออกพรรษา นี้พุทธศาสนิกชนถือว่าเป็นโอกาศอันดีที่จะกระทำ การบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร จัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระที่วัดและฟังพระธรรมเทศนา ของที่ชาวพุทธนิยมนำไปใส่บาตรในวันนี้ก็คือ ข้าวต้มมัดไต้ และข้าวต้มลูกโยน และการร่วมกุศล “ตักบาตรเทโว” ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11


1. ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ

2. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา

3. ร่วมกิจกรรม “ตักบาตรเทโว” (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11)

4. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการและประดับธงชาติ และธงธรรมจักร ตามวัดและสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา

5. ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือ บรรยายธรรม เกี่ยวกับ วันออกพรรษา เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป
กิจกรรม ประเพณีวันออกพรรษา ของไทย


1. ประเพณีออกพรรษา แห่ปราสาทผึ้ง และการแข่งขันเรือยาว จังหวัด สกลนคร

2. ประเพณีปอยเหลินสิบเอ็ด จังหวัด แม่ฮ่องสอน

3. ประเพณีตักบาตรเทโว จังหวัด อุทัยธานี

4. ประเพณีบุญแห่กระธูป จังหวัด ชัยภูมิ

5. ประเพณีชักพระ ทอดพระป่า และแข่งขันเรือยาว จังหวัดสุราษฎร์ธานี

6. งานเทศกาลออกพรรษาบั้งไฟพญานาค จังหวัด หนองคาย

7. ประเพณีลอยผาสาด ดารดาษนทีโขง จังหวัด เลย

8. เทศกาลงานบุญออกพรรษา จังหวัดมุกดาหาร

9. ทำบุญตักบาตรสองแผ่นดิน เหนือสุดในสยาม จังหวัด เชียงราย

10. งานประเพณีลากพระและมหกรรมวัฒนธรรมสัมพันธ์ จังหวัดตรัง

11. ประเพณีแข่งโพนลากพระ จังหวัด พัทลุ