จงอย่าลืม!!!!

อย่าลืม..ดินที่เคยหย่าง

ผญาเด็ดๆ อ่านด้วย!!

คันเจ้าได้อยู่ยอดฟ้าผาสาทประดับมุข อย่าได่ลืมเฮีอมทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า คันว่าได่ดีแล้ว อย่าลืมคุณพ่อแม่เผิ่นหา เลี้ยงแต่น้อยถนอมให้ใหญ่สูง

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ประเพณีบุญเดือนหก

                          เดือนหก บุญบั้งไฟ
ประเพณีบุญบั้งไฟ หรือ “งานบุญเดือนหก”  เป็นประเพณีพื้นถิ่นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ที่จัดในช่วงฤดูฝนที่เข้าสู่ฤดูทำนา อยู่ในช่วงเดือน ชาวนาชาวไร่จะทำพิธีบูชาขอฝนจากพญาแถน เพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล  ข้าวกล้าในนาไม่เสียหาย

ประเพณีบุญบั้งไฟนี้มีที่มาจากตอนหนึ่งของนิทานพื้นบ้านเรื่องผาแดงนางไอ่ ที่ได้กล่าวถึง การจุดบั้งไฟเป็นการบูชาพพญาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ตามความเชื่อของชาวอีสาน เชื่อกันว่าพญาแถนคือเทพที่คอยดูแลให้ฟ้าฝนตกต้องตามฤดูกาล และชอบไฟมากเป็นพิเศษ หากบ้านใดจัดงานบุญบั้งไฟขึ้นบูชา พญาแถนก็จะดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ผืนดินอุดมสมบูรณ์
นอกจากจะเป็นการขอฝนแล้ว ในความเชื่อของชาวบ้านในท้องถิ่นมีอยู่ว่าการจุดบั้งไฟยังเป็นการเสี่ยงทายอย่างหนึ่ง  ถ้าจุดบั้งไฟแล้วลอยขึ้นสูง ทำนายได้ว่าปีนี้ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล น้ำท่าข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ดี
ความน่าสนใจอีกประการหนึ่งของประเพณีขอฝนของชาวอีสานนี้ก็คือ ภูมิปัญญาชาวบ้านในการทำบั้งไฟจากกระบอกไม้ไผ่ที่บรรจุดินปืนลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าได้คล้ายกับจรวดซึ่งในสมัยก่อนวิทยาการยังไม่ก้าวหน้า แต่ชาวอีสานสามารถทำบั้งไฟลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าได้ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน
บั้งไฟ
ในวันงานประเพณีบุญบั้งไฟ ชาวบ้านจะนำบั้งไฟของแต่ละหมู่บ้านมาจุดแข่งกัน บั้งไฟของบ้านไหนจุดแล้วลอยสูงที่สุดก็จะเป็นผู้ชนะไป ส่วนบั้งไฟที่ลอยต่ำที่สุดหรือแตกก่อนถือว่าแพ้ ผู้แพ้ต้องโดนลงโทษด้วยการอุ้มไปโยนลงบ่อโคลน สร้างเสียงหัวเราะบรรยากาศสนุกสนานในงาน
งานบุญบั้งไฟของชาวอีสานจึงเป็นประเพณีที่แสดงออกถึงการเคารพ ให้เกียรติธรรมชาติ และการฉลอง ความสนุกสนาน รื่นเริง ในวันงานจึงมีขบวนแห่บั้งไฟพร้อมนางเซิ้งนำขบวนแห่บั้งไฟ มีการประกวด แข่งขันจุดบั้งไฟ   จังหวัดที่จัดงานบุญบั้งไฟอย่างยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ จังหวัดยโสธร และจังหวัดหนองคาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น