จงอย่าลืม!!!!

อย่าลืม..ดินที่เคยหย่าง

ผญาเด็ดๆ อ่านด้วย!!

คันเจ้าได้อยู่ยอดฟ้าผาสาทประดับมุข อย่าได่ลืมเฮีอมทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า คันว่าได่ดีแล้ว อย่าลืมคุณพ่อแม่เผิ่นหา เลี้ยงแต่น้อยถนอมให้ใหญ่สูง

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ประเพณีบุญเดือนอ้าย



           เดือนอ้าย  บุญเข้ากรรม


                                                       

ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเดือนเจียง เข้ากลายมาแถมถ่ายฝูงหมู่สังฆเจ้าก็เตรียมเข้าอยู่กรรมมันหาธรรมเนียมนี้ถือมาตั้งแต่ก่อน อย่าได้ละห่างเว้นเข็ญ (บาปเข็ญ คือ สิ่งที่ไม่ดีไม่งาม ความชั่วร้าย ไม่เป็นมงคล)สิข่องแล่นนำ แท้แหล่ว

บุญเข้ากรรม

ภิกษุต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ต้องอยู่กรรมถึงจะพ้นอาบัติ ญาติโยมแม่ออกแม่ตน ผู้อยากได้บุญกุศลก็จะให้ไปทานรักษาศีลฟังธรรม เกี่ยวกับการเข้ากรรมของภิกษุ เรียกว่า บุญเข้ากรรม กำหนดเอาเดือนเจียงเป็นเวลาทำ จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ วันที่นิยม ทำเป็นส่วนมากคือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เพราะเหตุกำหนดให้ทำในระหว่างเดือนเจียงจึงเรียกว่า บุญเดือนเจียง

นิมนต์สังฆเจ้าเข้ากรรมฯ ชาวบ้านเลี้ยงผีแถนและผีต่างๆ

ดังคำกล่าวว่า

ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเดือนเจียง เข้ากลายมาแถมถ่ายฝูงหมู่สังฆเจ้าก็เตรียมเข้าอยู่กรรมมันหาธรรมเนียมนี้ถือมาตั้งแต่ก่อน อย่าได้ละห่างเว้นเข็ญ (บาปเข็ญ คือ สิ่งที่ไม่ดีไม่งาม ความชั่วร้าย ไม่เป็นมงคล)สิข่องแล่นนำ แท้แหล่ว

บุญเข้ากรรมเป็นเดือนที่พระสงฆ์เข้ากรรม (ปริวาสกรรม) เพื่อให้พระสงฆ์ผู้กระทำผิด ได้สารภาพต่อหน้าคณะสงฆ์เป็นการฝึกจิตสำนึกถึงความบกพร่องของตนและมุ่งประพฤติตนให้ ถูกต้องตามพระธรรมวินัยต่อไป

ด้านฆราวาสก็จะมีการทำบุญเลี้ยงผีต่างๆบุญเข้ากรรมนิยมทำกันในเดือนอ้าย (เดือนเจียง) จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ ซึ่งเป็นฤดูหนาว บุญเข้ากรรมคือ พิธีทำบุญโดยให้พระภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส (อาบัติ หนักรองจากปาราชิก) คือพิธีเข้ากรรมการเข้ากรรมจัดทำโดยพระสงฆ์พระสงฆ์เข้าไปอยู่ในเขตหรือที่จำกัด เพื่อทรมานร่างกายให้หายจากกรรมหรือพ้นจากอาบัติที่ได้กระทำและเป็นการชำระจิตใจให้หายจากความมัวหมองด้วย บางแห่งถือว่าเมื่อบวชแล้วจะแทนคุณมารดาได้จะต้องอยู่กรรม (อยู่ไฟหลังคลอด) เพราะมารดาท่านเคยอยู่กรรมมาแล้ว

"ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเมื่อเดือนเจียงเข้ากลายมาแถมถ่าย ฝูงหมู่สังฆเจ้ากะเตรียมเข้าอยู่กรรม มันหากธรรมเนียมนี้ถือมาตั้งแต่ก่อน อย่าได้ละห่างเว้นเข็ญสิข้องแล่นนำ แท้แหล่ว"

หนึ่งในฮีต ๑๒ คือ บุญเดือนอ้ายหรือเดือนเจียงที่พุทธศาสนิกชนชาวอีสานให้ความสำคัญอีกงานหนึ่ง เพราะเป็นช่วงที่พระสงฆ์จะมีการเข้ากรรมหรืออยู่บริวาสกรรมเพื่อออกจากอาบัติสังฆาทิเลสตาม คติไทยเดือนอ้ายหรือเดือนเจียงของชาวอีสาน จะมีประเพณีการทำบุญเข้ากรรมของพระสงฆ์ ประเพณีเส็งกลอง (แข่งขันตีกลอง) ทำบุญดอกผ้า ประเพณีนวดข้าว เป็นต้น

โดยมากงานบุญในเดือนนี้มักจะเป็นพิธีกรรมทางสงฆ์เสียมากกว่า ผู้คนมีความเชื่อกันว่า หากทำบุญแด่พระสงฆ์ในช่วงที่ท่านเข้ากรรมจะได้อานิสสงฆ์สูง เพราะในยามที่พระสงฆ์เข้ากรรมถือเป็นช่วงที่เคร่งวินัยและบริสุทธิ์มากที่สุด การเข้ากรรมของพระสงฆ์ก็เปรียบได้กับการอยู่กรรม ของแม่ลูกอ่อนหรือหญิงที่พึ่งจะคลอดลูกใหม่ที่จะต้องอยู่กรรม ปฏิบัติตัวให้เหมาะสมคือจะต้องรู้จักคะลำ ทั้งเรื่องการกินและกิจวัตร ทั้งนี้เพื่อให้เกิความปลอดภัยทั้งแม่และลูก

ส่วนการเข้ากรรมของพระภิกษุสงฆ์นั้นเป็นเรื่องที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่โบราณกาล เป็นการทำเพื่อให้พระที่ต้องอาบัติที่หนัก

หนึ่งในฮีต ๑๒ คือ บุญเดือนอ้ายหรือเดือนเจียงที่พุทธศาสนิกชนชาวอีสานให้ความสำคัญอีกงานหนึ่ง เพราะเป็นช่วงที่พระสงฆ์จะมีการเข้ากรรมหรืออยู่บริวาสกรรมเพื่อออกจากอาบัติสังฆาทิเลสตาม คติไทยเดือนอ้ายหรือเดือนเจียงของชาวอีสาน จะมีประเพณีการทำบุญเข้ากรรมของพระสงฆ์ ประเพณีเส็งกลอง (แข่งขันตีกลอง) ทำบุญดอกผ้า ประเพณีนวดข้าว เป็นต้น

โดยมากงานบุญในเดือนนี้มักจะเป็นพิธีกรรมทางสงฆ์เสียมากกว่า ผู้คนมีความเชื่อกันว่า

หากทำบุญแด่พระสงฆ์ในช่วงที่ท่านเข้ากรรมจะได้อานิสสงฆ์สูง เพราะในยามที่พระสงฆ์เข้ากรรมถือเป็นช่วงที่เคร่งวินัยและบริสุทธิ์มากที่สุด การเข้ากรรมของพระสงฆ์ก็เปรียบได้กับการอยู่กรรม ของแม่ลูกอ่อนหรือหญิงที่พึ่งจะคลอดลูกใหม่ที่จะต้องอยู่กรรม ปฏิบัติตัวให้เหมาะสมคือจะต้องรู้จักคะลำ ทั้งเรื่องการกินและกิจวัตร ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งแม่และลูก

ส่วนการเข้ากรรมของพระภิกษุสงฆ์นั้นเป็นเรื่องที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่โบราณกาล เป็นการทำเพื่อให้พระที่ต้องอาบัติที่หนักรองลงมาจากปราชิก ทำพิธีวุฏฐานพิธีซึ่งเป็นระเบียบอันเป็นเครื่องออกจากอาบัติ อันเป็นพิธีกรรมที่ทำให้จิตใจไม่หมองมัว หรืออีกนัยหนึ่งก็เพื่อระลึกถึงการกระทำอันเป็นบาปที่ทำมาตลอดเข้าพรรษา หรือตั้งแต่กำเนิด บ้างก็ว่าการคร่ำเคร่งในการเข้ากรรมของพระสงฆ์เพื่อเป็นการทดแทนการอยู่กรรมของมารดาที่แสนจะทรมาน

มีตำนานเล่าสืบกันมาว่า ในสมัยพุทธกาล ในช่วงที่พระภิกษุสงฆ์จะเข้าปริวาสกรรม มีพระสงฆ์รูปหนึ่ง ล่องเรือไปตามแม่น้ำคงคา ได้เอามือไปจับใบตะไคร่น้ำขาดเพียงเล็กน้อย การทำลายชีวิตในครั้งนั้นเข้าใจว่าเป็นเพียงบาปเล็กน้อย เป็นอาบัติอย่างเบา จึงไม่แสดงอาบัติ

แต่เหตุในครั้งนั้นก็ยังคงค้างคาอยู่ในใจของภิกษุรูปนั้นอยู่เสมอตลอดระยะเวลาในช่วงเวลาที่ปฏิบัติธรรมในป่าและคงอยู่เป็นเวลานาน แต่เมื่ออยากแสดงอาบัติในการทำใบตะไคร่น้ำขาดในครั้งนั้นก็ไม่มีภิกษุรูปใดรับฟัง เมื่อภิกษุรูปนี้ได้มรณภาพลง บาปกรรมก็ยังติดตัวไปยังภพใหม่ด้วย จะเห็นได้ว่าแท้ที่จริงแล้วช่วงระยะเวลาการเข้ากรรมของพระสงฆ์นั้น เป็นช่วงที่ท่านแสดงซึ่งอาบัติที่เคยกระทำมาและยอมรับในการทำผิดนั้น มิได้บริสุทธิ์กว่ากาลที่ผ่านมา แต่เป็นความศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ในปัจจุบัน ชาวอีสานก็ยังให้ความสำคัญกับงานบุญในเดือนเจียงนี้อยู่แม้จะมีจำนวนลดน้อยลงบ้างตามกาลเวลา

พิธีกรรมที่ทำส่วนใหญ่ก็จะทำขึ้นเพื่อให้คนในชุมชนได้มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันสร้างความสมัคสมานสามัคคีและหล่อหลอมให้เป็นคนรู้จักสัมมาคารวะเคารพผู้อาวุโสในชุมชน รู้จักการแยกแยะรู้จักการให้อภัยแก่กัน ก็คือให้คนในชุมชนอยู่ด้วยการอย่างมีคุณธรรมไม่โลภ โกรธ หลง ต่างคนต่างพึ่งพาอาศัยกัน ไม่ถือชั้นวรรณะ และเป็นการสืบทอดศิลปะขนบธรรมเนียมประเพณีต่างให้สังคมเกิดความเป็นสุขนั่นคือจุดประสงค์ที่ยิ่งใหญ่ของประเพณีพิธีกรรมของชาวอีสาน ซึ่งเป็นความสำคัญและงดงามมากในอดีตกาล



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น